Search

แม้ชีวิตคนเราจะไม่เหมือนกัน แต่แอดก็เชื่อว่า ร้อยล...

  • Share this:

แม้ชีวิตคนเราจะไม่เหมือนกัน แต่แอดก็เชื่อว่า ร้อยละ 95 ของโปรแกรมเมอร์ (หรือใครที่เคยเขียนโปรแกรม) ล้วนผ่านจุด ๆ นึงมาเหมือนกัน นั่นก็คือ จุดที่เราหัดเขียนโปรแกรมครั้งแรก เพื่อแสดงข้อความ “Hello World” ในภาษา C, Java, Python หรือภาษาใด ๆ ก็ตาม 💻
.
แล้วทำไมต้องเป็นคำว่า “Hello World” ด้วยล่ะ มีที่มาที่ไปเป็นยังไง? 🤔 วันนี้แอดจะมาเล่าให้ทุกคนอ่านเอง ถ้าพร้อมแล้วก็จะเริ่มละนะ ! 📢 🔥
.
.
🔸 ผู้ให้กำเนิดคำว่า “Hello World” ในวงการคอมพิวเตอร์คือใคร?
.
เชื่อกันว่า จุดเริ่มต้นของ Hello World ในแวดวงคอมพิวเตอร์อยู่ในยุค 70 มาจากนักคอมพิวเตอร์ชื่อ Brian Kernighan ผู้ร่วมแต่งหนังสือโปรแกรมมิ่งอันโด่งดังเรื่อง C Programming Language และในหนังสือดังเล่มนี้ก็กล่าวถึง Hello World เช่นกัน 📖
.
👉 โดยคุณ Brian Kernighan พูดถึง Hello World ครั้งแรกในหนังสือ “A Tutorial Introduction to the Programming Language B” หนังสือเล่มก่อนหน้าของเขาเองที่ถูกตีพิมพ์เมื่อปี 1973 เพื่ออธิบายวิธีการเขียนโปรแกรมแสดงข้อความ
.
main( ) {
extrn a, b, c;
putchar(a); putchar(b); putchar(c); putchar(’!*n’);
}
a ’hell’;
b ’o, w’;
c ’orld’;
.
⬆️ และนี่ก็คือหน้าตาของโค้ดแสดงข้อความ Hello World ในหนังสือ A Tutorial Introduction to the Programming Language B
.
หลังจากนั้นก็ปรากฏ Hello World ในหนังสือ C Programming Language รวมถึงคู่มือการเขียนโปรแกรมภาษาต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ราวกับเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาของชาวโปรแกรมเมอร์ 🧑‍💻
.
.
🔸 แล้วคำว่า Hello World มาจากไหน?
.
เป็นอีกเรื่องที่ไม่ชัดเจนมากนัก คุณ Brian Kernighan เคยให้สัมภาษณ์กับทาง Forbes India ว่าเท่าที่เขาจำได้ เขาเจอการ์ตูนที่พูดถึงลูกเจี๊ยบออกจากไข่ แล้วลูกเจี๊ยบก็พูดว่า Hello World 🐣 จึงได้ไอเดียมาใช้อธิบายการเขียนโปรแกรมนั่นเอง
.
ถ้าย้อนกลับไปสมัยนั้น ผู้คนในวงการคอมพิวเตอร์ รวมถึงคุณ Brian Kernighan เอง คงไม่มีใครคิดว่า Hello World จะกลายมาเป็นวลีดังระดับโลก และเป็นเป้าหมายแรกที่โปรแกรมเมอร์มือใหม่เกือบทุกคนต้องพิชิต 💥 หรือเป็นวลีเด็ดที่โปรแกรมเมอร์มือเก่าต้องโค้ดเป็นพิธี ตอนเริ่มเรียนโปรแกรมมิ่งภาษาใหม่ 🔥
.
👉 ซึ่งนอกจากจะเป็น Tutorial บทแรกของมือใหม่แล้ว ปัจจุบัน Hello World ยังถูกใช้ตอนเริ่มต้นโปรเจกต์ เพื่อเช็กว่าโปรแกรมหรือคอมไพเลอร์ทำงานได้ไหม และใช้เปรียบเทียบ Syntax ของโปรแกรมมิ่งแต่ละภาษาอีกด้วย
.
ส่องโค้ด “Hello World” ฉบับโปรแกรมมิ่งกว่า 30 ภาษาได้ที่ https://www.geeksforgeeks.org/hello-world-in-30-different-languages/
.
.
เป็นยังไงกันบ้างวันนี้ เพื่อน ๆ คิดยังไงคอมเมนต์คุยกันได้น้า 😎 ถ้าใครอินดี้ไม่อยากใช้ Hello World ตอนหัดเขียนโปรแกรมภาษาต่อไป ลอง print คำว่า “borntoDev” ก็ได้นะครับ >< หรือถ้าใครมีคำเจ๋ง ๆ มาเสนอก็บอกกันได้ 😂
.
🔖 ขอบคุณข้อมูลจาก
https://blog.hackerrank.com/the-history-of-hello-world/
https://thongchairoj.medium.com/ที่มาของ-hello-world-ในภาษาคอมพิวเตอร์-bdd45eba8789
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
#BorntoDevวันละคำ #BorntoDev


Tags:

About author
BorntoDev (www.BorntoDev.com) เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการสอนการพัฒนาโปรแกรมหรือผลงานทางด้านคอมพิวเตอร์ จัดทำขึ้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2556 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการให้ผู้ที่สนใจพัฒนาซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชั่น หรือ ผลงานทางด้านคอมพิวเตอร์ได้มีแหล่งในการเรียนรู้ที่ง่าย และ สนุก ไม่เน้นทฤษฏีจนทำให้ท้อหรือถอดใจไปก่อนจัดทำขึ้นโดยกลุ่มคนที่ต้องการจะเห็นความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี และ มีความหวังว่าจะมีนักพัฒนารุ่นใหม่ของไทยที่มีผลงานที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ โดยจะใช้หลักการ “เน้นสนุก สอนเข้าใจ ทำได้จริง” สามารถเข้ามาเรียนรู้การพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และ บุคคลทั่วไปที่สนใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ถือว่ามีความสำคัญกับทุกสาขาอาชีพ และ เข้ามาเกี่ยวข้องกับทุกๆอย่างในชีวิตของเรา
ความสำเร็จของเรา คือ "การที่ได้เห็นคนไทยหันมาพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อโลก ที่ดีขึ้น"
View all posts